มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพร่วมกับกรมสุขภาพจิต และศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 อุดรธานี

1. ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม

           มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพร่วมกับกรมสุขภาพจิต ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 อุดรธานี และโรงพยาบาลอุดรธานี ดำเนินการวางแผนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ผลักดันการขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือทางด้านจิตใจนักศึกษาให้ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และเพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยได้รับการส่งเสริมป้องกันด้านสุขภาพจิต และการดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหาสุขภาพจิต รวมทั้งติดตามการดูแลต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต

         แนวทางการดำเนินการ กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการดังนี้

         1) สนับสนุนองค์ความรู้และวิทยากรเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสถาบันการศึกษาให้สามารถดูแลช่วยเหลือทางด้านจิตใจให้กับนักศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบและร่วมจัดทำแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมในโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจก้าวสู่คนไทยคุณภาพได้

          2) สนับสนุนการจัดระบบบริการการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยให้โรงพยาบาลคู่เครือข่ายในพื้นที่ร่วมกันดูแลช่วยเหลือและส่งต่อผู้มีปัญหาสุขภาพจิต

           3) สนับสนุนการจัดระบบบริการในการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยให้โรงพยาบาลคู่เครือข่ายในพื้นที่ร่วมกันดูแลช่วยเหลือและส่งต่อผู้มีปัญหาสุขภาพจิต

           4) มอบหมายให้ศูนย์สุขภาพจิตและโรงพยาบาลหรือสถาบันในสังกัดกรมสุขภาพจิตในพื้นที่ส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยบูรณาการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย

             ราชภัฏในเขตสุขภาพเพื่อการดูแลช่วยเหลือทางด้านจิตใจให้กับนักศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการดังนี้ 

             1) ส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อผลักดันให้เกิดระบบและขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจก้าวสู่คนไทยคุณภาพในมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง

              2) สื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่หน่วยงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อร่วมดำเนินงานโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจก้าวสู่คนไทยคุณภาพในมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง

              3) ติดตามความก้าวหน้าผลลัพธ์การดำเนินงานเชิงปริมาณและคุณภาพในมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง

               4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง

  2. สรุปข้อมูลผู้มีส่วนร่วม

         1) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

        2) กรมสุขภาพจิต

       3) ศุนย์สุขภาพจิตที่ 8 อุดระานี

       4) โรงพยาบาลอุดรธานี

3. ผลจากการมีส่วนร่วม

การดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ดังนี้

1.ออกแบบแผนการดำเนินงานเฝ้าระวังในสถานการณ์ปกติและกรณีวิกฤติสุขภาพจิต

2.พัฒนาศักยภาพนักศึกษา เพื่อส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจของตนเอง ส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตนักศึกษา การพัฒนานักศึกษา จัดอบรมให้ความรู้ ทักษะที่จำเป็นเบื้องต้นสำหรับนักศึกษา และทักษะการจัดการปัญหาของตนเอง การดูแลสุขภาพกายและใจของตนเอง

3.พัฒนาศักยภาพอาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลช่วยเหลือนักศึกษา (การให้คำปรึกษาเบื้องต้น, การสังเกตสัญญานเตือน) และเพิ่มช่องทางการช่วยเหลือส่งต่อ

4.เพิ่มช่องทางการเข้าถึงการบริการ ให้รวดเร็ว จากการเฝ้าระวังด้วย MHCI มหาวิทยาลัยสามารถทราบข้อมูลการเฝ้าระวังและ Caseเสี่ยง และให้การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น ติดตามต่อเนื่องได้

5.จัดทำห้องให้คำปรึกษาเพื่อบริการให้คำปรึกษาให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ให้บริการโดยนักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ห้องให้คำปรึกษา โดยมุ่งส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถจัดการปัญหาของตนเองได้อย่างเหมาะสม

6.จัดทำฐานความรู้ด้านการให้คำปรึกษา การดูแลตนเองให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

4. การนำผลการมีส่วนร่วมไปปรับปรุง

            1) ประชาสัมพันธ์การใช้งานโปรแกรม Mental Health Check In ให้ครอบคลุมมากขึ้นและต่อเนื่องให้กับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

             2) ติดตามกลุ่มเสี่ยงและช่วยเหลือในระดับรุนแรง

            3) สร้างความรอบรู้เรื่องสัญญานเตือนและการจัดการเบื้องต้นแก่นักศึกษา และบุคลากรผู้ดูแล พร้อมทั้งมีช่องทางติดต่อ 24 ชม.

             4) พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการดูแลช่วยเหลือจิตใจนักศึกษา

             5) จัดการเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะแก้ไขปัญหาชีวิตแลการเผชิญปัญหาอย่างสร้างสรรค์

            6) สนับสนุนให้เกิดทักษะการให้คำปรึกษาให้กับอาจารย์ที่ปรึกษาแกนนำนักศึกษา เพื่อจับสัญญาณเตือนการฆ่าตัวตาย